ชื่อพื้นเมือง มะค่าแต้
ชื่อวิทยาศาสตร์ LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ชื่อสามัญ-
สรรพคุณของมะค่าแต้
- เปลือกใช้ต้มแก้ซาง แก้ลิ้นเป็นฝ้า (เปลือก)[5]
- ปุ่มที่เปลือกมีรสเมาเบื่อ ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้พยาธิ ส่วนเมล็ดมีรสเมาเบื่อสุขุมเป็นยาขับพยาธิเช่นกัน (ปุ่มเปลือก, เมล็ด)[4]
- ปุ่มที่เปลือกนำมาต้มรมให้หัวริดสีดวงทวารหนักฝ่อได้ (ปุ่มเปลือก[4], ผล[6]) ส่วนเมล็ดมีรสเบื่อขม ทำให้ริดสีดวงทวารแห้ง (เมล็ด)[6]
- เปลือกต้นมะค่าแต้ใช้ผสมกับเปลือกต้นมะกอกเหลี่ยม เปลือกต้นหนามทัน เปลือกต้นยางยา และรากถั่วแปบช้าง นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อีสุกอีใส (เปลือกต้น)[1]
- ใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง (ผล, ปุ่มเปลือก, เมล็ด)
ประโยชน์ของมะค่าแต้
- เมล็ดแก่เมื่อนำมาเผาไฟแล้วกะเทาะเปลือกออก เอาแต่เนื้อข้างในมารับประทานเป็นอาหารว่างได้ โดยเนื้อจะมีลักษณะแข็ง ๆ คล้ายกับเมล็ดมะขามและมีรสมัน[4]
- ฝักและเปลือกให้น้ำฝาดชนิด Catechol และ Pyrogallol ใช้สำหรับฟอกหนัง ส่วนเปลือกต้นจะนิยมนำมาใช้ย้อมสีเส้นไหม ย้อมแห โดยจะให้สีแดง[4]
- ในด้านเชื้อเพลิง สามารถนำมาใช้ทำเป็นถ่านได้ดี โดยจะให้ความร้อนได้สูงถึง 7,347 แคลอรีต่อกรัม[4]
- เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาล่อนหรือเป็นสีน้ำตาลแก่ เมื่อทิ้งไว้นาน ๆ จะเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้น มีเส้นสีเข้มกว่าสลับกับเนื้อไม้ที่ค่อนข้างหยาบ เสี้ยนสนแต่สม่ำเสมอ มีความแข็งแรงทนทาน ทนต่อปลวกได้ดี เลื่อย ผ่า ไสกบตบแต่งได้ยาก สามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้ดี แต่จะมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ใช้ทำเสา รอด ตง พื้น พื้นรอง เครื่องเรือน เครื่องบน เครื่องมือทางการเกษตร เครื่องเกวียน เครื่องไถนา หมอนรองรางรถไฟ ลูกกลิ้งนาเกลือ กระดูกเรือ หรือใช้ทำโครงเรือใบเดินทะเล ฯลฯ[2],[3],[4]