Wednesday Nov 27, 2024

ขี้เหล็ก

ชื่อพื้นเมือง ขี้เหล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์ senna siamea(LAM)Irwin Barneby
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
สามัธ-

ประโยชน์ของขี้เหล็ก

  1. ใบขี้เหล็กมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง (ใบ)
  2. ดอกขี้เหล็กมีวิตามินที่ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (ดอก)
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ป้องกันหวัด ช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น (ดอก)
  4. ช่วยบำรุงธาตุ (ราก)
  5. แก้ธาตุพิการ แก้ไฟ ทำให้ตัวเย็น (แก่น)
  6. ช่วยเจริญธาตุไฟ (ราก)
  7. ช่วยแก้โรคกระษัย (ราก, ลำต้นและกิ่ง, เปลือกต้น, ทั้งต้น)
  8. ช่วยรักษาอาการตัวเหลือง (ทั้งต้น)
  9. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ใบ, แก่น)
  10. ช่วยลดความดันโลหิตสูง (ใบ)
  11. ช่วยรักษาวัณโรค (แก่น)
  12. ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง (ดอก)
  13. ช่วยรักษามะเร็งปอด ปอดอักเสบ มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร (แก่น)
  14. ช่วยแก้อาการชักในเด็ก (ราก)
  15. แก้ไตพิการ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  16. ช่วยแก้อาการแสบตา (แก่น)
  17. ใบขี้เหล็กมีสารที่ชื่อว่า “แอนไฮโดรบาราคอล” (Anhydrobarakol) ที่มีสรรพคุณช่วยในการคลายความเครียด บรรเทาอาการจิตฟุ้งซ่าน (ใบ)
  18. ช่วยบำรุงสมอง บำรุงประสาท แก้โรคประสาท และช่วยสงบประสาท (ดอก)
  19. ช่วยทำให้นอนหลับสบาย แก้อาการนอนไม่หลับ ผ่อนคลายความกังวล ด้วยการใช้ใบขี้เหล็กแห้ง 30 กรัม (หรือใบสด 50 กรัม) นำมาต้มกับน้ำไว้ดื่มก่อนนอน หรือจะใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า โดยใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ทิ้งไว้ 7 วันและคนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ เมื่อครบให้กรองเอากากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนชาก่อนเข้านอน (ใบ, ดอก)
  20. ช่วยแก้ลมขึ้นเบื้องสูง เบื้องบน โลหิตขึ้นเบื้องบน ทำให้มีอาการระส่ำระสายในท้อง (ฝัก)
  21. ช่วยรักษาหืด (ดอก)
  22. ช่วยรักษาโรคโลหิตพิการ ผายธาตุ (ดอก)
  23. ช่วยบำรุงโลหิต (ใบ)
  24. ช่วยขับโลหิต (แก่น)
  25. ช่วยขับพิษโลหิต (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  26. แก้เลือดกำเดาไหล (ต้น, ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  27. ช่วยถ่ายพิษไข้ แก้ไข้กลับซ้ำ แก้ไข้หนาว ไข้ผิดสำแดง (ราก)
  28. ช่วยดับพิษไข้ (เปลือกต้น, ทั้งต้น)
  29. ช่วยแก้พิษไข้เพื่อน้ำดี พิษไข้เพื่อเสมหะ (เปลือกต้น, ฝัก)
  30. ช่วยแก้พิษเสมหะ (ทั้งต้น)
  31. ช่วยกำจัดเสมหะ (ใบ)
  32. ช่วยขับมุตกิด กัดเถาดาน กัดเสมหะ และกัดเมือกในลำไส้ (เปลือกฝัก)
  33. ขี้เหล็กมีสรรพคุณช่วยแก้ร้อนใน (ใบ)
  34. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ดอก)
  35. แก้อาการเบื่ออาหาร ด้วยการใช้ใบขี้เหล็กแห้ง 30 กรัม (หรือใบสด 50 กรัม) นำมาต้มกับน้ำไว้ดื่มก่อนนอน หรือจะใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า โดยใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ทิ้งไว้ 7 วันและคนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ เมื่อครบให้กรองเอากากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนชาก่อนเข้านอน (ใบแห้ง, ใบอ่อน)
  36. ช่วยแก้อาการท้องผูก ด้วยการใช้ใบอ่อน 2-3 กำมือ หรือแก่นประมาณ 2 องคุลี ประมาณ 3-4 ชิ้น นำมาต้มกับน้ำครึ่งถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ใช้ดื่มหลังตื่นนอนตอนเช้าหรือก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว (ใบอ่อน, แก่น)
  37. ช่วยรักษาโรคบิด (ใบ)
  38. ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ด้วยการใช้ใบอ่อน 2-3 กำมือ หรือแก่นประมาณ 2 องคุลี ประมาณ 3-4 ชิ้น นำมาต้มกับน้ำครึ่งถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ใช้ดื่มหลังตื่นนอนตอนเช้าหรือก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว (ดอก, ใบ, แก่น, ลำต้นและกิ่ง, เปลือกต้น, ราก, ทั้งต้น)
  39. ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (เปลือกต้น)
  40. ช่วยบำรุงน้ำดี (ทั้งต้น)
  41. ช่วยขับปัสสาวะ (ใบ, ลำต้น และกิ่ง)
  42. ช่วยรักษานิ่วในไต (ใบ, ลำต้น และกิ่ง)
  43. แกงขี้เหล็กช่วยรักษาโรคหนองใน (แก่น, ทั้งต้น)
  44. รักษาแผลกามโรค (ราก, แก่น)
  45. ช่วยแก้หนองใส (แก่น)
  46. ช่วยขับระดูขาว (ใบ, ลำต้น และกิ่ง)
  47. ช่วยฟอกโลหิตในสตรี (ต้น)
  48. ช่วยขับพยาธิ (ใบ, ดอก)
  49. ช่วยรักษาอาการเหน็บชา (ใบ, ราก)
  50. รากใช้ทาแก้อัมพฤกษ์ให้หย่อน (ราก)
  51. ช่วยทำให้เส้นเอ็นหย่อน (ทั้งต้น)
  52. แก้เส้นเอ็นพิการ (เปลือกฝัก)
  53. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (ลำต้นและกิ่ง)
  54. ช่วยรักษาโรคหิด (เปลือกต้น)
  55. ช่วยรักษาฝีมะม่วง (ใบ)
  56. ทางภาคใต้ใช้รากขี้เหล็กผสมกับสารส้ม นำมาทาแผลฝีหนอง (ราก)
  57. ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ราก, ลำต้น และกิ่ง)
  58. ประโยชน์ของขี้เหล็กช่วยแก้บวม (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  59. ช่วยรักษารังแค ด้วยการใช้ดอกขี้เหล็กผสมกับมะกรูดย่างไฟ 2 ลูก โดยต้องย่างให้มีรอยไหม้ที่ผิวมะกรูดด้วย ใช้ดอกขี้เหล็ก 2 ช้อนโต๊ะ พิมเสน 1 ช้อนชา นำมาปั่นผสมกันแล้วเติมน้ำปูนใส 100 cc. ปั่นจนเข้ากัน แล้วคั้นกรองเอาแต่น้ำ จากนั้นนำน้ำมันมะกอกเติมผสมเข้าไปประมาณ 60-100 cc. ผสมจนเข้ากันแล้วนำมาหมักผมทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีก่อนการสระผมทุกครั้ง จะช่วยรักษารังแคได้ (ดอก)
  60. ใช้ทำปุ๋ยหมัก (ใบแก่)
  61. ดอกและดอกอ่อนใช้รับประทานหรือทำเป็นแกงขี้เหล็กได้ (ดอก)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to Top